กรอบแนวคิดการจัดการศึกษาแบบ CDIO (CDIO-based Education Framework) ได้รับการพัฒนามาจากคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจาก 4 สถาบันที่มีชื่อเสียงในโลกได้แก่ Chalmers University of Technology, KTH Royal Institute of Technology, Linkoping University ประเทศสวีเดน และ Massachusetts Institute of Technology (MIT) ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2000 โดยมีแนวความคิดจากการสอบถามผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Key Stakeholders) ของการจัดการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering Education) โดยประเด็นหลักของการผลิตวิศวกรในโลกปัจจุบัน คือการให้โอกาสให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ใกล้เคียงวิชาชีพวิศวกรมากที่สุด ขณะอยู่ในสถาบันการศึกษา ซึ่งได้แก่ การรับรู้ปัญหา (Conceive) การออกแบบหรือหาแนวทางการแก้ปัญหา (Design) การประยุกต์ใช้ (Implement) และการดำเนินงาน (Operate) โดยนับเป็นบริบทที่สำคัญที่สุดของวิชาชีพวิศวกร คณะดำเนินงานได้จัดตั้งองค์กรชื่อ CDIO Worldwide Initiatives โดยในปัจจุบันมีสมาชิกในฐานะ Collaborator จำนวน 107 สถาบันทั่วโลก [ที่มา www.cdio.org]
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ Conceive, Design, Implement, and Operate (CDIO) Framework for Re-Thinking Engineering Education, Thailand ภายใต้การสนับสนุนของ Temasek Foundation และ Singapore Polytechnic International โดยมีคณาจารย์เข้าร่วมโครงการทั้งหมดกว่า 50 คน ระหว่างมกราคม 2556 – สิงหาคม 2557โดยมีระดับการนำหลักการ CDIO-based Education มาประยุกต์ใช้ตั้งแต่ การประยุกต์ใช้เฉพาะรายวิชา ไปจนกระทั่งใช้ทั้งหลักสูตร ซึ่งพบว่าการจัดการศึกษาแบบ CDIO เป็นกรอบแนวปฏิบัติที่เหมาะสมอย่างยิ่ง ในการสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพตรงตามอัตลักษณ์บัณฑิตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
วิศวศึกษาเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับความรู้และหลักการในการสอนศาสตร์ด้านวิศวกรรมศาสตร์ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการให้การศึกษาด้านวิศวกรรม ความเชี่ยวชาญพิเศษ และการศึกษาชั้นสูงอื่นๆ นอกจากนั้นวิศวศึกษาเกี่ยวข้องกับการทดสอบความรู้และการอบรมเพื่อให้ได้มาซึ่งใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ในประเทศสหรัฐอเมริกาวิศวศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนการเรียนในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ในโรงเรียนรัฐทั้งหมดทั่วประเทศ การให้บริการการศึกษาจัดเป็นส่วนหนึ่งของวิศวศึกษาที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบันโดยมุ่งเน้นศาสตร์ด้านต่างๆ ได้แก่ วิศวกรรมเครื่องกล การก่อสร้าง วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมไฟฟ้าและอื่นๆอีกมากมาย
สำหรับประเทศไทยสภาคณบดีคณวิศวกรรมศาสตร์ จัดให้มีการประชุมวิชาการวิศวศึกษาทุกปีในงานการประชุมใหญ่สามัญประจำปีในเดือนพฤษภาคม โดยในการประชุมวิชาการวิศวศึกษาครั้งที่ 9 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยราชมงคลธัญบุรี เป็นเจ้าภาพการจัดงาน ณ โรงแรมภูเก็ตอะคาเดีย รีสอร์ทแอนด์สปา ระหว่างวันที่ 9-11 พฤษภาคม 2554 โดยภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการมีคณาจารย์ส่งผลงานทางวิชาการเข้าร่วมในการประชุมวิชาการนี้อย่างสม่ำเสมอทุกปี
Engineering education is the activity of teaching knowledge and principles related to the professional practice of engineering. It includes the initial education for becoming an engineer and any advanced education and specialization that follow. Engineering education is typically accompanied by additional examinations and supervised training as the requirements for a professional engineering license. In the United States, engineering education is a part of the STEM initiative in public schools. Service-learning in engineering education is gaining popularity within the variety of disciplinary focuses within engineering education including mechanical engineering, construction science, computer science and engineering, electrical engineering, and other forms of related education.
1. ณฐา คุปตัษเฐียร และ ระพี กาญจนะ. 2555. “องค์ประกอบที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักศึกษาสายวิศวกรรมอุตสาหการกับความมุ่งมั่นในการประกอบอาชีพเป็นวิศวกร Components that Influence Satisfaction of Industrial Engineering StudentsAnd Their Intentions to Pursue a Career as Engineers”. หนังสือรวบรวมการประชุมวิชาการวิศวศึกษาครั้งที่ 10, International and National Conference of Engineering Education (INCEE10) Proceeding. pp. 74-79.
2. ไพฑูรย์ พูลสุขโข วรญา วัฒนจิตสิริ และ ณฐา คุปตัษเฐียร. 2554. “การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนจบตามแผนการศึกษาสำหรับปีการศึกษา 2552 หลักสูตรปริญญาตรีวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี A Study of Factors Affect Graduation upon Plan of Study for Academic Year 2009 Industrial Engineering Bachelor Degree Program, Faculty of Engineering, RMUTT”. หนังสือรวบรวมการประชุมวิชาการวิศวศึกษาครั้งที่ 9, International and National Conference of Engineering Education (INCEE9) Proceeding. pp. 86-89.
3. จตุพร สีลาน และ ณฐา คุปตัษเฐียร. 2554. “การศึกษาเทียบเคียงศักยภาพในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองระหว่างนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาสายสามัญ กับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาสายอาชีพ Learning and Self-development Potential Benchmarking between General andVocational Education Graduates: A Case of Industrial Engineering Students”. หนังสือรวบรวมการประชุมวิชาการวิศวศึกษาครั้งที่ 9, International and National Conference of Engineering Education (INCEE9) Proceeding. pp. 182-186.
4. Kuptasthien Natha and Itarun Pitimon. 2011. “An Interactive E-tutor System for Industrial Engineering Courses”. Conference Proceeding for International and National Conference of Engineering Education (INCEE9), 9-11 May 2011, Phuket Acadia Resort and Spa, Phuket, Thailand, pp. 26-29.
5. Kanchana Rapee and Surat Triwanapong. 2011. “Identifying the Key Quality Improvement of Undergraduate Engineering Education – Using Importance-Performance Analysis”. Conference Proceeding for International and National Conference of Engineering Education (INCEE9), 9-11 May 2011, Phuket Acadia Resort and Spa, Phuket, Thailand, pp.39-42.
6. ไพฑูรย์ พูลสุขโข และ ณฐา คุปตัษเฐียร. 2553. “คุณสมบัติพึงประสงค์ของวิศวกรอุตสาหการเชิงเปรียบเทียบตามกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก Industrial Engineer Required Qualifications Comparing Among Major Industrial Groups”. หนังสือรวบรวมการประชุมวิชาการวิศวศึกษาครั้งที่ 8 (NCEEd-8) 6-8 พฤษภาคม 2553 โรงแรมเลอเมอริเดียน จังหวัดเชียงใหม่.
7. ณฐา คุปตัษเฐียร และ ไพฑูรย์ พูลสุขโข. 2552. “การพัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการตามคุณสมบัติพึงประสงค์ของอุตสาหกรรมไทย Qualification-based Industrial Engineering Curriculum Development for Thai Industry”. หนังสือรวบรวมการประชุมวิชาการวิศวศึกษาครั้งที่ 7(NCEEd-7) 14-16 พฤษภาคม 2552 โรงแรมริมเพ จังหวัดระยอง.
8. ไพฑูรย์ พูลสุขโข และ ณฐา คุปตัษเฐียร. 2552. “คุณสมบัติของวิศวกรอุตสาหการที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการและทิศทางการพัฒนาหลักสูตร สำหรับ ปี พ.ศ.2552-2556 Industrial Engineer Qualifications Required by Industrial Sector and Curriculum Development Direction for the Year of 2009-2013”. หนังสือรวบรวมการประชุมวิชาการวิศวศึกษาครั้งที่ 7(NCEEd-7) 14-16 พฤษภาคม 2552 โรงแรมริมเพ จังหวัดระยอง.
9. ณฐา คุปตัษเฐียร. 2551. “การสร้างความร่วมมือภาคอุตสาหกรรม-มหาวิทยาลัยระยะยาวโดยสหกิจศึกษาและวิชาโครงการ Building Industry-University Long-term Cooperation throughCo-op Program and Project Course”. หนังสือรวบรวมการสัมมนาทางวิชาการวิศวศึกษาครั้งที่ 6.
10. ณฐา คุปตัษเฐียร. 2550. “การออกแบบหลักสูตรและทิศทางการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมสำหรับปีพ.ศ. 2550 –2559 Curriculum Design and Engineering Education Trend for Year 2007-2016”. หนังสือรวบรวมการสัมมนาทางวิชาการวิศวศึกษาครั้งที่ 5.
11. Kuptasthien, Natha. 2010. “Attitudes”, Number 1 Industrial Engineer’s Qualification Requirement for Thai Major Industries”. Conference Proceeding for ICBIR 2010 International Conference of Business and Industrial Research, Wednesday – Thursday, March 17-18, 2010. Thai-Nichi Institute of Technology, Bangkok, Thailand.
12. Kuptasthien, Natha. 2008. ” Bridging the Gap: Building Industry-University Long-term Cooeration Through Co-op Program and Project Course”. The 26th Conference of the ASEAN Federation of Engineering Organizations (CAFEO 26), Sofitel Hotel, Bangkok, Thailand, 26-29 November 2008.