หลักสูตรระดับปริญญาตรี

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุงปี พ.ศ. 2558)

Download

ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการจึงตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับปรุงหลักสูตรและการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปโดยการนำกรอบแนวคิดการจัดการเรียนการสอน CDIO-based Education (Conceive – Design – Implement – Operate) มาใช้อย่างเต็มรูปแบบ  และเข้าร่วมโครงการนำร่องเพื่อขอรับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ กับหน่วยงานรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ (Thailand Accreditation Body for Engineering Education: TABEE)

หลักสูตรมุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ  รายวิชาส่วนใหญ่มีการเพิ่มชั่วโมงปฏิบัติเพื่อสอดรับกับนโยบายของมหาวิทยาลัยและคณะที่มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพ (Hands-on Professional Graduates) โดยปรับสัดส่วนการเรียนการสอนระหว่างจำนวนชั่วโมงทฤษฎีต่อจำนวนชั่วโมงปฏิบัติคิดเป็นร้อยละ 40 ต่อ 60

หลักสูตรปรับปรุงฉบับนี้นอกจากจะมีจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องมาตรฐานวิชาชีพสาชาวิศวกรรมอุตสาหการที่กำหนดโดยสภาวิศวกร (Council of Engineers)

วัตถุประสงค์ 
1. ผลิตบัณฑิตวิชาเอกวิศวกรรมอุตสาหการให้มีคุณธรรมจริยธรรม มีสัมมาคารวะ รู้จักกาลเทศะ ทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี รับผิดชอบต่อตนเอง สังคม วิชาชีพ และปฏิบัติตนภายใต้จรรยาบรรณวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเสียสละ
2.  ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ดังกล่าวอย่างเหมาะสมเพื่อการประกอบวิชาชีพของตน และการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นไปได้
3.  ผลิตบัณฑิตให้มีความใฝ่รู้ในองค์ความรู้ และเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถพัฒนาองค์ความรู้ที่ตนมีอยู่ให้สูงขึ้นไป เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนางาน พัฒนาสังคมและประเทศชาติ และให้คิดเป็น ทำเป็น มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถเลือกวิธีแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
4  ผลิตบัณฑิตให้ มีมนุษยสัมพันธ์และมีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
มีทักษะในด้านการทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถบริหารจัดการการทำงานได้อย่างเหมาะสม และเป็นผู้มีทัศนคติที่ดีในการทำงาน
5  ผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร และใช้ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และศัพท์ทางเทคนิคในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้เป็นอย่างดี
6.  ผลิตบัณฑิตให้มีทักษะทางด้านปฏิบัติในงานวิชาชีพเฉพาะ และสามารถนำไปบูรณาการเพื่อประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรม

จุดเด่นของวิชาเอกวิชาวิศวกรรมการผลิต (Production Engineering) คือการเพิ่มรายวิชาชีพเลือกด้านระบบการผลิตอัตโนมัติ เทคโนโลยี ซีเอ็นซี (Automatic Production & CNC Technology) และการวิเคราะห์และจำลองระบบการผลิต (Simulation) เพื่อรองรับกับสถานการณ์ของอุตสาหกรรมการผลิตที่มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของการนำระบบการผลิตแบบอัตโนมัติไปทดแทนปัญหาด้านแรงงาน และยังมุ่งเน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านกระบวนการขึ้นรูป (Forming Process) ซึ่งมีการเรียนการสอนทั้งแม่พิมพ์ขึ้นรูปโลหะและแม่พิมพ์พลาสติก (Tool & Die) นอกจากนี้ยังเพิ่มรายวิชาด้านกระบวนการผลิตวัสดุคอมโพสิต (Composite Matierที่เกี่ยวข้องการออกแบบชิ้นส่วนและงานขึ้นรูปวัสดุคอมโพสิต

จุดเด่นวิชาเอกวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering) ได้ปรับเพิ่มรายวิชาชีพเลือกด้านการจัดการทางวิศวกรรมให้เกิดการเรียนรู้แบบองค์รวมและเสริมทักษะในด้าน QCDSME (Quality-Cost-Delivery-Safety-Morale-Environment) ซึ่งเป็นนโยบายหลักในการดำเนินงานขององค์กรส่วนใหญ่ ด้วยการเพิ่มรายวิชาระบบการจัดการและการประกันคุณภาพ (Quality Management) การวิเคราะห์ต้นทุนศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการและความคุ้มค่าในการลงทุนเพื่อประกอบการตัดสินใจ (Feasibility Study) วิชาการจัดการผลิตภาพ (Productivity Management) วิชาการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังจัดให้มีวิชาการออกแบบการทดลอง (Design of Experiment) เบื้องต้นสำหรับวิศวกรเพื่อเสริมทักษะในการวิเคราะห์และค้นหาปัจจัยที่สำคัญส่งผลต่อระบบการผลิต และยังคงให้มีรายวิชาคอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกรรมอุตสาหการ (Computer for IE) เพื่อเสริมทักษะด้านการคิด วิเคราะห์ ประยุกต์ใช้ IT ในการดำเนินงานและยังคงมีรายวิชาการออกแบบและจัดการระบบโลจิสติกส์เพื่อรองรับกับความต้องการบุคลากรด้านโลจิสติกส์ที่เพิ่มขึ้น (Logistics & Supply Chain Managment)

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร – คุณสมบัติบัณฑิต IEGraduate Attributes

จากผลการสำรวจคุณสมบัติพึงประสงค์จากภาคอุตสาหกรรม ปี พ.ศ. 2556 นำมาใช้ในการวางแผนปรับปรุงหลักสูตร โดยผู้จบการศึกษาจากหลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ. 2558 นี้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

ความรู้ (Knowledge) ด้านพื้นฐานวิชาชีพวิศวกรรม (Core Engineering) วิชาชีพเฉพาะของวิศวกรรมการผลิต (PE) และ วิศวกรรมอุตสาหการ (IE)

ทักษะ (Skills) ด้านการคิดวิเคราะห์ (Thinking Skills) การทำงานเป็นทีม (Teamwork Skills) และการสื่อสาร (Communication Skills)

ทัศนคติ (Attitudes) ด้านความรับผิดชอบ จรรยาบรรณการประกอบวิชาชีพวิศวกร ผ่านประสบการณ์ฝึกงานวิชาชีพ สหกิจศึกษา และการฝึกงาน (Cooperative Education and On-the-job Training)

จากการปรับปรุงหลักสูตรฉบับนี้บัณฑิตที่จบจากสาขานี้จะมีความรู้ความสามารถและมีทักษะทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติในการออกแบบ วิเคราะห์ จัดการระบบการผลิต พร้อมปฏิบัติงานตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม

การจัดการเรียนการสอน

ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการเปิดหลักสูตรในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทโดยมีเป้าหมายเพื่อเตรียมความพร้อมนักศึกษาในการทำงานจริง หลักสูตรระดับปริญญาตรีที่เปิดทำการเรียนการสอน คือ

  1. วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ภาคปกติ 4 ปี รับนักเรียนที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ นักศึกษาที่จบประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
  2. วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ภาคปกติ 3 ปี รับนักศึกษาที่จบประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) โดยสามารถเทียบโอนรายวิชาได้
  3. วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการภาคสมทบ 3 ½  ปี รับนักศึกษาที่จบประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) โดยสามารถเทียบโอนรายวิชาได้ โดยจัดการเรียนการสอนนอกเวลาราชการ คือในวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 17:00 – 20:00 น. และ วันเสาร์อาทิตย์ 08:00 – 16:00 น.

Undergraduate Programs Offer

  1. 4-year Bachelor Degree Program in Industrial Engineering for high school and vocational certificate graduates
  2. 3-year Bachelor Degree Program in Industrial Engineering for vocational diploma graduates
  3. 3 ½ -year Bachelor Degree Programs in Industrial Engineering for vocational diploma graduates[

Comments are closed.